สถานที่ประสูติปัจจุบัน

พุทธสังเวชนียสถานปัจจุบัน พุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล

พุทธศาสนิกชนชาวไทยปลื้มใจในบุญกุศล สถานที่ประสูติปัจจุบัน มัชรูมทราเวลวันนี้พาไปตามรอยพระพุทธเจ้าและสังเวชนียสถาน 4 แห่งในอินเดียและเนปาล ซึ่งเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน ชาวพุทธควรไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต 

ไม่ใช่แค่การไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญเท่านั้นแต่เป็นการเที่ยวไปในตัวด้วย คนชอบเที่ยวโบราณสถานมากขึ้นเรื่อยๆ โบราณสถานห้ามพลาด ที่น่าไปมีทั้งหมด 4 ที่ ตามมาดูกันเลย

สถานที่ประสูติปัจจุบัน

1. ลุมพินีวัน : สถานที่ประสูติ - สถานที่ประสูติปัจจุบัน

ลุมพินีวัน (อังกฤษ: Lumbini) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ ๑ ใน ๔ สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย
ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะ หรือวโนทยานที่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวัน ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะบนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า “เสาอโศก” ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่า “พระพุทธเจ้า ประสูติที่ตรงนี้”
ลุมพินีวัน ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า” เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐

2. พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้

พุทธคยา (บาลี: พุทธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด ๑ ใน ๔ แห่งของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัดมหาโพธิ” อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ ๓๕๐ เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญ คือ องค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง ๕๑ เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ ๑๒๑.๒๙ เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุโบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น
สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ ๑ ใน ๔ แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ.๒๕๔๕ วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

3. สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สารนาถ (อังกฤษ: Saranath) จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ ๓ (๑ ใน ๔ แห่งของชาวพุทธ) ตั้งอยู่ ๙ กิโลเมตรเศษทางเหนือของเมืองพาราณสี ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือแคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล
เหตุที่ได้ชื่อว่า “สารนาถ” เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) เป็นการเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า “สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง”

สารนาถ ยังรู้จักกันดีในชื่อ “อิสิปตนมฤคทายวัน” หรือ “ฤาษีปัตนมฤคทายวัน” (บาลี: อิสิปตนมิคทายวน) แปลว่า “ป่าอันยกให้แก่หมู่กวางและเป็นที่ชุมนุมฤาษี” ภายในอาณาบริเวณสารนาถ มีธรรมเมกขสถูปเป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่า บริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา ประกาศพระสัจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่

สถานที่ประสูติปัจจุบัน

4. กุสินารา : สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

กุสินารา เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ ในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมืองปาวา เป็นที่ตั้งของสาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
กุสินารา ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือ กาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฏ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ 

ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่า กุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์
ปัจจุบัน กุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญ คือ สถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายใน และมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย